บทที่ 9
ความเข้าใจเกี่ยวกับงบการเงิน
งบแสดงฐานะการเงิน (Finance Position Reporting)
งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position) หรือในภาคธุรกิจเรียกว่า “งบดุล” (Balance Sheet) เป็นงบที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนทุน ณ วันใดวันหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะจัดทำ ณ วันสิ้นงวดบัญชี โดยสะสมยอดตั้งแต่วันที่เริ่มดำเนินการ จนถึงวันที่ที่ได้ระบุไว้ในรายงานฐานะการเงินนั้น
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
สินทรัพย์ ( Assets )
หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงาน ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีต และคาดว่าจะทำให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่หน่วยงาน
-สินทรัพย์หมุนเวียน ( Current Assets )
หมายถึง สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสามารถแปลงเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว ถือไว้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า ที่คาดว่าใช้ประโยชน์ภายในระยะสั้น ไม่เกิน 1 ปี
เช่น เงินสดหรือเทียบเท่า ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ
-สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( Non-Current Assets )
หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการมีไว้ครอบครองใน ระยะเวลา เกินกว่า 1 ปี รวมถึงสินทรัพย์ที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน
เช่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ลิขสิทธิ์ สัมปทาน
สินทรัพย์หมุนเวียน + สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน = สินทรัพย์รวม
หนี้สิน ( Liabilities )
หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของหน่วยงาน ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีต และจะส่งผลให้หน่วยงานต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อชำระภาระผูกพันนั้น
-หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities)
หมายถึง หนี้สินระยะสั้นต้องชำระภายใน 1 ปี
-หนี้สินไม่หมุนเวียน ( Non-Current Liabilities )
หมายถึง หนี้สินระยะยาวชำระเกินกว่า 1 ปี
หนี้สินหมุนเวียน + หนี้สินไม่หมุนเวียน = หนี้สินรวม
ส่วนของเจ้าของ ( Owner's Equity )
-ทุนเรือนหุ้น (Share Capital) คือ การนำเงินมาลงทุนของเจ้าของกิจการ
-กำไร (Retained Earnings) คือ กำไรสะสมที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น เป็นกำไรที่กิจการสะสมไว้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกิจการ
เงินทุนหมุนเวียน ( Net working Capital )
คือ ผลต่างระหว่างทรัพย์สินหมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน
เงินทุนหมุนเวียน = ทรัพย์สินหมุนเวียน + หนี้สินหมุนเวียน
งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
หมายถึง รายงานการเงินที่แสดงผลการดำเนินงานทางการเงินของหน่วยงาน ว่ามีผลกำไรหรือขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานเท่าไร ภายในรอบระยะเวลาบัญชี
รายได้ - ค่าใช้จ่าย = กำไรสุทธิ(ขาดทุนสิทธิ)
รายได้ > ค่าใช้จ่าย = กำไรสุทธิ
รายได้ < ค่าใช้จ่าย = ขาดทุนสุทธิ
-รายได้ (Revenue)
คือ การเพิ่มขึ้นของประโยชน์ทางเศรษฐกิจในรอบบัญชีที่เกิดขึ้นจากที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติ หรือผลตอบแทนอื่นๆ แต่ไม่รวมส่วนของเจ้าของ
-ค่าใช้จ่าย (Expenses)
คือ การลดลงของประโยชน์ทางเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชี เช่น ค่าใช้จ่ายจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ แต่ไม่รวมส่วนของเจ้าของ
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ
เป็นงบการเงินที่แสดงรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงในรายการที่เป็นองค์ประกอบต่างๆของเจ้าของ จากต้นงวดบัญชีไปถึงสิ้นงวดบัญชี โดยให้เปิดเผยการเปลี่ยนซึ่งเป็นผลมาจาก
1.กำไรหรือขาดทุน
2.แต่ละรายการของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นและ
3.รายการซึ่งแสดงเงินทุนที่ได้รับจากผู้เป็นเจ้าของและการจัดสรรส่วนทุนให้ผู้เป็นเจ้าของ
งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement)
คือ รายงานการเงินที่แสดงการเคลื่อนไหวของกระแสเงินสดของหน่วยงานในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ผู้ใช้งบการเงินสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อประเมินความสามารถของหน่วยงานที่จะได้รับเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดและความจำเป็นของหน่วยงานในการใช้กระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน
หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to The Financial Statements)
คือ ส่วนหนึ่งของงบการเงินซึ่งจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน นโยบายบัญชีที่ใช้ปฏิบัติ กับรายการบัญชีที่สำคัญ การเปิดเผยข้อมูลตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด และการให้ข้อมูลเพิ่มเติมซึ่งไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงินอาจแสดงในลักษณะเป็นข้อความเชิงบรรยายและการวิเคราะห์รายละเอียดของจำนวนเงินที่แสดงในงบการเงิน รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเป็นนอกเหนือจากที่แสดงในงบการเงิน โดยให้หน่วยงานใช้ดุลยพินิจเกี่ยวกับความมีนัยสำคัญในการเปิดเผยรายละเอียดประกอบ
หมายเหตุประกอบงบการเงินจะต้อง
- นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดทำงบการเงินและนโยบายการบัญชีที่กิจการใช้
- เปิดเผยข้อมูลที่ไม่ได้นำเสนอในงบการเงินตามข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานการเงิน
- ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้นำเสนออยู่ในงบการเงินแต่เกี่ยวข้องต่อการทำความเข้าใจงบการเงิน
- กิจการต้องนำเสนอหมายเหตุประกอบงบการเงินในลักษณะที่เป็นระบบมากที่สุด
แบบฝึกหัด
1 งบแสดงฐานะการเงินได้แก่อะไรบ้าง พร้องทั้งอธิบาย
2 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ลิขสิทธิ์ สัมปทาน จัดอยู่ในสินทรัพย์ประเภทใด
3 ทุนเรือนหุ้น หมายถึงอะไร
4 งบกระแสเงินสด หมายถึง อะไร
5 งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ประกอบด้วยอะไรบ้าง พร้อมทั้งอธิบาย
เฉลย
1 สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
สินทรัพย์ ( Assets ) หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงาน ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีต และคาดว่าจะทำให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่หน่วยงาน
หนี้สิน ( Liabilities )
หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของหน่วยงาน ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีต และจะส่งผลให้หน่วยงานต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อชำระภาระผูกพันนั้น
ส่วนของเจ้าของ ( Owner's Equity )
-ทุนเรือนหุ้น (Share Capital) คือ การนำเงินมาลงทุนของเจ้าของกิจการ
-กำไร (Retained Earnings) คือ กำไรสะสมที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น เป็นกำไรที่กิจการสะสมไว้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกิจการ
2 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-Current Assets)
3 ทุนเรือนหุ้น (Share Capital) คือ การนำเงินมาลงทุนของเจ้าของกิจการ
4 หมายถึง รายงานการเงินที่แสดงการเคลื่อนไหวของกระแสเงินสดของหน่วยงานในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ผู้ใช้งบการเงินสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อประเมินความสามารถของหน่วยงานที่จะได้รับเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดและความจำเป็นของหน่วยงานในการใช้กระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน
5 รายได้ (Revenue)
คือ การเพิ่มขึ้นของประโยชน์ทางเศรษฐกิจในรอบบัญชีที่เกิดขึ้นจากที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติ หรือผลตอบแทนอื่นๆ แต่ไม่รวมส่วนของเจ้าของ
ค่าใช้จ่าย (Expenses)
คือ การลดลงของประโยชน์ทางเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชี เช่น ค่าใช้จ่ายจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ แต่ไม่รวมส่วนของเจ้าของ
บทที่ 12
การจัดการเงินทุนหมุนเวียนและการจัดหาเงินทุนระยะสั้น
เงินทุนหมุนเวียน (working capital)
หมายถึง จำนวนเงินที่ลงทุนไป ในสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมด
1. เงินสด (cash)
2. หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (marketable securities)
3. ลูกหนี้การค้า (accounts receivable)
4. สินค้าคงเหลือ (inventory)
เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ(net working capital)
หมายถึง ผลต่างของจำนวนเงินรวมที่ลงทุนไปในสินทรัพย์หมุนเวียน หักด้วยจำนวนเงินรวมของหนี้สินหมุนเวียน
เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ = สินทรัพย์หมุนเวียนรวม – หนี้สินหมุนเวียนรวม
กรณีค่าของเงินทุนหมุนเวียนสุทธิเป็นบวก
หมายถึง จำนวนเงินทุนหมุนเวียนที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนรวมมากกว่าหนี้สินหมุนเวียนรวม
กรณีค่าของเงินทุนหมุนเวียนสุทธิเป็นลบ
หมายถึง จำนวนเงินทุนหมุนเวียนที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนรวมน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียนรวม
กรณีค่าของเงินทุนหมุนเวียนสุทธิเป็นศูนย์
หมายถึง จำนวนเงินทุนหมุนเวียนโดยมีสินทรัพย์หมุนเวียนรวมเท่ากับหนี้สินหมุนเวียนรวม
การจัดการเงินทุนหมุนเวียน (working capital management)
หมายถึง การบริหารในส่วนประกอบของสินทรัพย์หมุนเวียนอันได้แก่ เงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ และการบริหารหนี้สินหมุนเวียน
สภาพคล่อง ความสามารถในการทำกำไร ความเสี่ยง
การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมาก สูง ต่ำ ต่ำ
การใช้เงินทุนจากหนี้สินหมุนเวียนมาก ต่ำ สูง สูง
วัตถุประสงค์ของการจัดการเงินทุนหมุนเวียน
เพื่อให้ธุรกิจพยายามกำหนดปริมาณเงินทุนหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะจะทำให้เสียประโยชน์จากโอกาสต่างๆ
ประเภทของเงินทุนหมุนเวียน
1. สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวร (permanent current assets)
หมายถึง จำนวนสินทรัพย์หมุนเวียนที่แต่ละธุรกิจจะต้องดำรงไว้ขั้นต่ำ
2. สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนชั่วคราว (temporary current assets)
หมายถึง จำนวนสินทรัพย์หมุนเวียนที่แต่ละธุรกิจจะต้องดำรงไว้เพิ่มเติมจากจำนวนเงินสดขั้นต่ำ
เงินทุนหมุนเวียนตามลักษณะของการลงทุน
1. เงินทุนหมุนเวียนชนิดถาวร (permanent working capital)
หมายถึง เงินทุนหมุนเวียน ที่จะใช้ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวร
2. เงินทุนหมุนเวียนชนิดชั่วคราว (temporary working capital)
หมายถึง เงินทุนหมุนเวียนที่จะใช้ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนชั่วคราว
วัตถุประสงค์ของจัดการเงินทุนหมุนเวียน
การจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพ โดยมีสภาพ คล่องและกำไรในระดับที่ต้องการ
การมีสภาพคล่อง หมายถึงมีความสามารถในการชำระหนี้และจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และความสามารถทำกำไรที่ได้รับผลตอบแทนจากการดำเนินงานในระดับที่กิจการต้องการ เช่น
สภาพคล่องสูงสุด อัตราผลตอบแทนต่ำสุด
สภาพคล่องต่ำสุด อัตราผลตอบแทนสูงสุด
สภาพคล่องปานกลาง อัตราผลตอบแทนปานกลาง
หลักการจัดการเงินทุนหมุนเวียน
1.การวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับส่วนประกอบของสินทรัพย์หมุนเวียนว่าควรจะมีอะไรบ้าง และปริมาณเท่าไร จึงทำให้กิจการมีสภาพคล่อง และมีกำไรระดับที่พอใจ
2. นโยบายและการควบคุมสินทรัพย์หมุนเวียนแต่ละรายการ รวมทั้งพยายามดำเนินการตามกรอบและนโยบายที่กำหนดไว้
-การกำหนดปริมาณของเงินทุนหมุนเวียน
-ปัจจัยที่มีส่วนกำหนดปริมาณเงินทุนหมุนเวียน
-ประเภทของธุรกิจ
- นโยบายในการดำเนินงานของธุรกิจ
- ยอดขายของกิจการ
-การแข่งขันของธุรกิจ
การวัดประสิทธิภาพของการจัดการเงินทุนหมุนเวียน
CCC =DSO + DSI – DPO
เมื่อ CCC= วงจรการเปลี่ยนแปลงของเงินสด
-โดยระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ (DSO) = (ลูกหนี้การค้า x จำนวนวันใน 1 ปี)/ยอดขาย
-ระยะเวลาการหมุนของสินค้า (DSI) = (สินค้าคงเหลือ x จำนวนวันใน 1 ปี)/ยอดขาย
-ระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้ (DPO) = (เจ้าหนี้การค้า x จำนวนวันใน 1 ปี)/ยอดขาย
-การประมาณต้นทุนสินเชื่อระยะสั้น
-ดอกเบี้ย=เงินต้น×อัตราดอกเบี้ย×ระยะเวลา
-อัตราดอกเบี้ย (APR) = (ดอกเบี้ย÷เงินต้น) × (1÷ระยะเวลา)
-อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี=〖 (1+ (i÷m)) 〗^m-1
i=อัตราดอกเบี้ยต่อปี
M=จำนวนครั้งที่ทบต้นในหนึ่ง
การจัดหาเงินทุนระยะสั้น
(Short Term Financing)
เงินทุนระยะสั้น หมายถึง เงินทุนที่ได้จากการก่อหนี้ระยะสั้น ซึ่งมีระยะการชำระคืนภายใน 1 ปี การจัดหาเงินทุนระยะสั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน โดยนำไปลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ และสินทรัพย์นั้นสามารถเปลี่ยนมาเป็นเงินสดได้ ไม่เกิน 1 ปี ซึ่งสามารถชำระคืนเงินกู้ด้วยตนเอง กล่าวคือ เมื่อธุรกิจกู้ยืมมาใช้ในการผลิตสินค้าขาย เมื่อธุรกิจขายสินค้าเป็นเงินเชื่อก็จะมีลูกหนี้กรค้าเกิดขึ้น และในกรณีที่ธุรกิจขายสินค้าไม่หมดก็จะมีสินค้าคงเหลือเกิดขึ้น เมื่อธุรกิจสามารถเร่งรัดการเก็บหนี้ได้ และขายสินค้าออกไปได้ก็จะได้เงินสดมาชำระหนี้ระยะสั้น
ประเภทของเงินทุนระยะสั้น
การจัดหาเงินทุนระยะสั้นสามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
-เงินทุนระยะสั้นที่ได้จากธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้า
-เงินทุนระยะสั้นที่ไม่มีหลักประกัน
-เงินทุนระยะสั้นที่มีหลักประกัน
เงินทุนระยะสั้นที่ได้จากธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้า
เงินทุนระยะสั้นที่ได้จากธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้าจำแนกออกเป็น 2 ประเภท
1.เจ้าหนี้การค้าหรือสินเชื่อทางการค้า (Account Payable/Trade Credit) เป็นสินเชื่อทางการค้าที่เกิดขึ้นจากการค้าปกติ ผู้ขายจะเป็นผู้ให้เครดิตแก่ผู้ซื้อ โดยผู้ขายมีข้อตกลงกับผู้ซื้อในเรื่องเงื่อนไขกรชำระเงิน กำหนดเวลาการชำระเงิน ซึ่งสินเชื่อทางการค้าก็คือ เจ้าหนี้การค้าซึ่งเป็นรายการที่ปรากฏในงบแสดงฐานะการเงินทางด้านหนี้สินและทุนนั่นเอง
2. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accruals) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่ได้รับสินค้าหรือบริการแล้วแต่กิจการยังไม่ได้ชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการ เช่น เงินเดือนค้างจ่าย ค่าแรงค้างจ่าย ภาษีเงินได้ค้างจ่ายเป็นต้น
เงินกู้ชนิดไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
เงินกู้ชนิดไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นเงินกู้ที่ได้รับความนิยมมากในวงการค้า เงินกู้ประเภทนี้มีอายุการชำระคืนไม่เกิน 1 ปี ทำได้สะดวกและมีความยืดหยุ่น เพราะผู้กู้ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ประกันในการกู้ยืม โดยปกติแล้วธุรกิจจะใช้เงินกู้ประเภทนี้เป็นเงินลงทุนหมุนเวียนในกรดำเนินงานเช่น ซื้อวัตถุดิบ ที่ใช้ในการผลิต จ่ายค่าแรวงงาน จ่ายค่าเงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟฟ้า เป็นต้น
ตราสารพาณิชย์ ( Commercial Paper )
คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งออกโดยบริษัทหรือธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ มีชื่อเสียงทางการค้าและฐานะทางการเงินดี จำหน่ายให้แก่บริษัทโดยทั่วไป เช่น บริษัทประกันภัย ธนาคาร กองทุนรวม กองทุนบำเหน็จบำนาญ ตลาดเงิน
ประโยชน์ของตราสารพาณิชย์
1.ต้นทุนที่ถูกกว่า โดยทั่วไปอัตราดอกเบี้ยของตราสารพาณิชย์จะถูกกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์
2.ไม่มีข้อจำกัดด้านเงินทุน การกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ลูกค้าจะถูกกำจัดเงินทุนที่จะกู้ยืมได้จากธนาคารตามกฎหมาย แต่การออกตราสารพาณิชย์บริษัทผู้ออกตราสารพาณิชย์จะออกตราสารจำนวนเงินเงินเท่าใดก็ได้ โดยไม่มีข้อจำกัดตามกฎหมาย
3.ไม่มีหลักประกัน การอออกตราสารพาณิชย์ไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ ค้ำประกัน ทำให้เกิดความสะดวกในการจัดหาทุน
4.ไม่จำเป็นต้องมีเงินฝากขั้นต่ำคงเหลือในบัญชี (Compensating Balance) การกู้เงินจากธนาคารนอกจากธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้แล้วยังกำหนดให้ผู้กู้แล้วยังกำหนดให้ผู้กู้
เงินทุนระยะสั้นที่มีหลักประกัน
แหล่งเงินทุนระยะสั้นที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันวงเงินกู้ยืม
2.1 การกู้ยืมเงินโดยใช้บัญชีลูกหนี้การค้า (accounts receivable loans)
2.1.1 การใช้บัญชีลูกหนี้การค้าค้ำประกัน (assignment accounts receivable) หมายถึง การจัดหาเงินทุนจากการกู้ยืมเงินโดยใช้บัญชีลูกหนี้การค้าเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น
2.1.2 การขายบัญชีลูกหนี้การค้า (factoring account receivable) หมายถึง การจัดหาเงินทุนจากการกู้ยืมเงินโดยการนำบัญชีลูกหนี้การค้าของกิจการไปขายให้กับสถาบันการเงินอื่นที่รับซื้อบัญชีลูกหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายในการจัดการเกี่ยวกับลูกหนี้
2.2 การใช้สินค้าคงเหลือค้ำประกัน (inventory loans) หมายถึง การจัดหาเงินทุนโดยวิธีการกู้ยืมเงินโดยนำสินค้าคงเหลือไปค้ำประกันวงเงินกู้ยืมเหมือนกับการใช้บัญชีลูกหนี้การค้าค้ำประกัน
Floating Lien Agreement คือ
การกู้โดยวิธีกระทำโดยใช้สินค้าคงเหลือเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืม วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแต่เป็นการค้ำประกันที่ไม่ปลอดภัย ผู้ให้กู้จะมีสิทธิเหนือสินค้าคงเหลือในการควบคุม หรือ นำออกจำหน่ายได้ การใช้สินค้าคงเหลือค้ำประกันตามวิธีนี้ไม่ไดระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นสินชนิดใด นอกจากนั้นผู้ให้กู้ยังมีสิทธิเหลือสินค้าคงเหลือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย
แบบฝึกหัด
1.เงินทุนหมุนเวียน (working capital) หมายถึง
2.เงินทุนหมุนเวียนสุทธิเป็นบวก หมายถึง
3.เงินทุนระยะสั้นแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง
4.ตราสารพาณิชย์ (Commercial Paper) คืออะไร
5. Floating Lien Agreement คืออะไร
เฉลย
1.เงินทุนหมุนเวียนสุทธิเป็นบวก หมายถึง
2.จำนวนเงินทุนหมุนเวียนที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนรวมมากกว่าหนี้สินหมุนเวียนรวม
3. 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.เงินทุนระยะสั้นที่ได้จากธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้า
2.เงินทุนระยะสั้นที่ไม่มีหลักประกัน
3.เงินทุนระยะสั้นที่มีหลักประกัน
4.ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งออกโดยบริษัทหรือธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ มีชื่อเสียงทางการค้าและฐานะทางการเงินดี จำหน่ายให้แก่บริษัทโดยทั่วไป เช่น บริษัทประกันภัย ธนาคาร กองทุนรวม กองทุนบำเหน็จบำนาญ ตลาดเงิน
5.การกู้โดยวิธีกระทำโดยใช้สินค้าคงเหลือเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืม วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแต่เป็นการค้ำประกันที่ไม่ปลอดภัย ผู้ให้กู้จะมีสิทธิเหนือสินค้าคงเหลือในการควบคุม หรือ นำออกจำหน่ายได้ การใช้สินค้าคงเหลือค้ำประกันตามวิธีนี้ไม่ไดระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นสินชนิดใด นอกจากนั้นผู้ให้กู้ยังมีสิทธิเหลือสินค้าคงเหลือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย
จัดทำโดย
1.นางสาวชนิตรนารถ ไฝนันตา รหัส 5706104341
2.นายกิตติชัย ไชยศิลป์ รหัส 5706104314
3.นางสาวธนัชชา มะละกูล รหัส5706104378
4.นางสาวธัญชนก ปัทมดิลก รหัส 5706104383
5.นายอรรถพล ชัยอาภร รหัส 5706104528
Section 5...
สวัสดีคุณสนใจที่จะได้รับเงินกู้ประเภทใด? ผมผู้อำนวยการเคลวินเคนท์กู้ จำกัด บริการสินเชื่อเควินเคนท์และเป็นการลงทุนเครดิตทางกฎหมายได้รับใบอนุญาตที่เรานำเสนอเงินให้กู้ยืมแก่บุคคลบุคคลและ บริษัท เช่นเดียวกับการให้บริการที่เชื่อถือได้และการลงทุนที่หลากหลายของลูกค้า / ระดับอาจเกิดขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม 3% ด้วยจำนวนเงินกู้ขั้นต่ำ (3.000 $ / €) สำหรับการกู้ยืมเงินสูงสุด ($ 300,000,000 / €) มีระยะเวลา 1 ปีถึง 25 ปี ติดต่อเราผ่านทาง E-mail address บริษัท : kelvinkentloanfirm83@gmail.com ติดต่อ: kelvinkentloanfirm83@gmail.com: สำหรับการกู้ยืมเงินของคุณวันนี้เราอยู่ที่บริการของคุณ ขอบคุณสำหรับการรอคอยสำหรับการตอบสนองรวดเร็วของคุณ เควินเคนท์
ตอบลบThese days it is hard to get home loans. Either its home equity loan or its mortgage loan and availability of easy home equity loans is in full bloom. These loans are uncomplicated, tenable, easily available, very flexible and tailor-made for homeowners. The best part about all this is that almost every loan lending or financial institution offers loans at high rate but Mr Pedro offers low loan rate @ 2% rate in return of such Business loan,Personal Loan, Home Loan, Car Loan.
ตอบลบYou can contact Mr Pedro on pedroloanss@gmail.com