วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเงิน

บทที่ 9
ความเข้าใจเกี่ยวกับงบการเงิน


งบแสดงฐานะการเงิน (Finance Position Reporting)
งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position) หรือในภาคธุรกิจเรียกว่า “งบดุล” (Balance  Sheet) เป็นงบที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนทุน ณ วันใดวันหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะจัดทำ ณ วันสิ้นงวดบัญชี โดยสะสมยอดตั้งแต่วันที่เริ่มดำเนินการ จนถึงวันที่ที่ได้ระบุไว้ในรายงานฐานะการเงินนั้น
 สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ 
สินทรัพย์ ( Assets )     
 หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงาน ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีต และคาดว่าจะทำให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่หน่วยงาน
-สินทรัพย์หมุนเวียน ( Current Assets )
หมายถึง  สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสามารถแปลงเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว ถือไว้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า ที่คาดว่าใช้ประโยชน์ภายในระยะสั้น ไม่เกิน 1 ปี
เช่น เงินสดหรือเทียบเท่า ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ 
-สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (  Non-Current Assets )
หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการมีไว้ครอบครองใน ระยะเวลา เกินกว่า 1 ปี รวมถึงสินทรัพย์ที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน
เช่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ลิขสิทธิ์ สัมปทาน
 สินทรัพย์หมุนเวียน + สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน = สินทรัพย์รวม
หนี้สิน ( Liabilities )
หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของหน่วยงาน   ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีต และจะส่งผลให้หน่วยงานต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อชำระภาระผูกพันนั้น
 -หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities)
หมายถึง หนี้สินระยะสั้นต้องชำระภายใน 1 ปี 
-หนี้สินไม่หมุนเวียน ( Non-Current Liabilities )
หมายถึง หนี้สินระยะยาวชำระเกินกว่า 1 ปี
หนี้สินหมุนเวียน + หนี้สินไม่หมุนเวียน = หนี้สินรวม
ส่วนของเจ้าของ ( Owner's Equity )
 -ทุนเรือนหุ้น (Share Capital) คือ การนำเงินมาลงทุนของเจ้าของกิจการ
 -กำไร (Retained Earnings) คือ กำไรสะสมที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น เป็นกำไรที่กิจการสะสมไว้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกิจการ
เงินทุนหมุนเวียน ( Net working Capital )
 คือ ผลต่างระหว่างทรัพย์สินหมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน
เงินทุนหมุนเวียน = ทรัพย์สินหมุนเวียน + หนี้สินหมุนเวียน
งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
หมายถึง รายงานการเงินที่แสดงผลการดำเนินงานทางการเงินของหน่วยงาน ว่ามีผลกำไรหรือขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานเท่าไร ภายในรอบระยะเวลาบัญชี 
          รายได้ - ค่าใช้จ่าย  =  กำไรสุทธิ(ขาดทุนสิทธิ)
          รายได้ > ค่าใช้จ่าย = กำไรสุทธิ
          รายได้ < ค่าใช้จ่าย = ขาดทุนสุทธิ
-รายได้ (Revenue)
คือ การเพิ่มขึ้นของประโยชน์ทางเศรษฐกิจในรอบบัญชีที่เกิดขึ้นจากที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติ หรือผลตอบแทนอื่นๆ แต่ไม่รวมส่วนของเจ้าของ
-ค่าใช้จ่าย (Expenses)
 คือ การลดลงของประโยชน์ทางเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชี เช่น ค่าใช้จ่ายจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ แต่ไม่รวมส่วนของเจ้าของ
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ
 เป็นงบการเงินที่แสดงรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงในรายการที่เป็นองค์ประกอบต่างๆของเจ้าของ จากต้นงวดบัญชีไปถึงสิ้นงวดบัญชี โดยให้เปิดเผยการเปลี่ยนซึ่งเป็นผลมาจาก
1.กำไรหรือขาดทุน
2.แต่ละรายการของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นและ
3.รายการซึ่งแสดงเงินทุนที่ได้รับจากผู้เป็นเจ้าของและการจัดสรรส่วนทุนให้ผู้เป็นเจ้าของ

งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement) 
คือ รายงานการเงินที่แสดงการเคลื่อนไหวของกระแสเงินสดของหน่วยงานในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ผู้ใช้งบการเงินสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อประเมินความสามารถของหน่วยงานที่จะได้รับเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดและความจำเป็นของหน่วยงานในการใช้กระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน
หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to The Financial Statements) 
 คือ ส่วนหนึ่งของงบการเงินซึ่งจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน นโยบายบัญชีที่ใช้ปฏิบัติ กับรายการบัญชีที่สำคัญ การเปิดเผยข้อมูลตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด และการให้ข้อมูลเพิ่มเติมซึ่งไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงินอาจแสดงในลักษณะเป็นข้อความเชิงบรรยายและการวิเคราะห์รายละเอียดของจำนวนเงินที่แสดงในงบการเงิน รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเป็นนอกเหนือจากที่แสดงในงบการเงิน โดยให้หน่วยงานใช้ดุลยพินิจเกี่ยวกับความมีนัยสำคัญในการเปิดเผยรายละเอียดประกอบ
หมายเหตุประกอบงบการเงินจะต้อง
    -  นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดทำงบการเงินและนโยบายการบัญชีที่กิจการใช้
    -  เปิดเผยข้อมูลที่ไม่ได้นำเสนอในงบการเงินตามข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานการเงิน
    -  ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้นำเสนออยู่ในงบการเงินแต่เกี่ยวข้องต่อการทำความเข้าใจงบการเงิน
    -  กิจการต้องนำเสนอหมายเหตุประกอบงบการเงินในลักษณะที่เป็นระบบมากที่สุด

แบบฝึกหัด
1 งบแสดงฐานะการเงินได้แก่อะไรบ้าง พร้องทั้งอธิบาย
2 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ลิขสิทธิ์ สัมปทาน จัดอยู่ในสินทรัพย์ประเภทใด
3 ทุนเรือนหุ้น หมายถึงอะไร
4 งบกระแสเงินสด หมายถึง อะไร
5 งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ประกอบด้วยอะไรบ้าง พร้อมทั้งอธิบาย
เฉลย
1   สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ 
สินทรัพย์ ( Assets )     หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงาน ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีต และคาดว่าจะทำให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่หน่วยงาน
หนี้สิน ( Liabilities )
                      หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของหน่วยงาน   ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีต และจะส่งผลให้หน่วยงานต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อชำระภาระผูกพันนั้น
ส่วนของเจ้าของ ( Owner's Equity )
                     -ทุนเรือนหุ้น (Share Capital) คือ การนำเงินมาลงทุนของเจ้าของกิจการ
                     -กำไร (Retained Earnings) คือ กำไรสะสมที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น เป็นกำไรที่กิจการสะสมไว้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกิจการ
2 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-Current Assets)
3 ทุนเรือนหุ้น (Share Capital) คือ การนำเงินมาลงทุนของเจ้าของกิจการ
4 หมายถึง รายงานการเงินที่แสดงการเคลื่อนไหวของกระแสเงินสดของหน่วยงานในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ผู้ใช้งบการเงินสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อประเมินความสามารถของหน่วยงานที่จะได้รับเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดและความจำเป็นของหน่วยงานในการใช้กระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน
5 รายได้ (Revenue)
 คือ การเพิ่มขึ้นของประโยชน์ทางเศรษฐกิจในรอบบัญชีที่เกิดขึ้นจากที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติ หรือผลตอบแทนอื่นๆ แต่ไม่รวมส่วนของเจ้าของ
ค่าใช้จ่าย (Expenses)
 คือ การลดลงของประโยชน์ทางเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชี เช่น ค่าใช้จ่ายจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ แต่ไม่รวมส่วนของเจ้าของ

บทที่ 12
การจัดการเงินทุนหมุนเวียนและการจัดหาเงินทุนระยะสั้น



 เงินทุนหมุนเวียน (working capital)
หมายถึง จำนวนเงินที่ลงทุนไป ในสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมด 
1. เงินสด (cash) 
2. หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (marketable securities) 
3. ลูกหนี้การค้า (accounts receivable) 
4. สินค้าคงเหลือ (inventory)
เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ(net working capital)
 หมายถึง ผลต่างของจำนวนเงินรวมที่ลงทุนไปในสินทรัพย์หมุนเวียน หักด้วยจำนวนเงินรวมของหนี้สินหมุนเวียน 
เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ = สินทรัพย์หมุนเวียนรวม – หนี้สินหมุนเวียนรวม
กรณีค่าของเงินทุนหมุนเวียนสุทธิเป็นบวก
หมายถึง จำนวนเงินทุนหมุนเวียนที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนรวมมากกว่าหนี้สินหมุนเวียนรวม 
กรณีค่าของเงินทุนหมุนเวียนสุทธิเป็นลบ
หมายถึง จำนวนเงินทุนหมุนเวียนที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนรวมน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียนรวม
กรณีค่าของเงินทุนหมุนเวียนสุทธิเป็นศูนย์
หมายถึง จำนวนเงินทุนหมุนเวียนโดยมีสินทรัพย์หมุนเวียนรวมเท่ากับหนี้สินหมุนเวียนรวม
การจัดการเงินทุนหมุนเวียน (working capital management) 
หมายถึง การบริหารในส่วนประกอบของสินทรัพย์หมุนเวียนอันได้แก่ เงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ และการบริหารหนี้สินหมุนเวียน
สภาพคล่อง ความสามารถในการทำกำไร ความเสี่ยง
การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมาก สูง ต่ำ ต่ำ
การใช้เงินทุนจากหนี้สินหมุนเวียนมาก ต่ำ สูง สูง
วัตถุประสงค์ของการจัดการเงินทุนหมุนเวียน
 เพื่อให้ธุรกิจพยายามกำหนดปริมาณเงินทุนหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะจะทำให้เสียประโยชน์จากโอกาสต่างๆ 
ประเภทของเงินทุนหมุนเวียน
1. สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวร (permanent current assets) 
หมายถึง จำนวนสินทรัพย์หมุนเวียนที่แต่ละธุรกิจจะต้องดำรงไว้ขั้นต่ำ
2. สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนชั่วคราว (temporary current assets) 
หมายถึง จำนวนสินทรัพย์หมุนเวียนที่แต่ละธุรกิจจะต้องดำรงไว้เพิ่มเติมจากจำนวนเงินสดขั้นต่ำ
เงินทุนหมุนเวียนตามลักษณะของการลงทุน
1. เงินทุนหมุนเวียนชนิดถาวร (permanent working capital) 
หมายถึง เงินทุนหมุนเวียน ที่จะใช้ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวร 
 2. เงินทุนหมุนเวียนชนิดชั่วคราว (temporary working capital) 
หมายถึง เงินทุนหมุนเวียนที่จะใช้ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนชั่วคราว
วัตถุประสงค์ของจัดการเงินทุนหมุนเวียน
การจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพ  โดยมีสภาพ คล่องและกำไรในระดับที่ต้องการ
การมีสภาพคล่อง หมายถึงมีความสามารถในการชำระหนี้และจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และความสามารถทำกำไรที่ได้รับผลตอบแทนจากการดำเนินงานในระดับที่กิจการต้องการ เช่น
สภาพคล่องสูงสุด         อัตราผลตอบแทนต่ำสุด
สภาพคล่องต่ำสุด         อัตราผลตอบแทนสูงสุด
สภาพคล่องปานกลาง   อัตราผลตอบแทนปานกลาง
หลักการจัดการเงินทุนหมุนเวียน
 1.การวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับส่วนประกอบของสินทรัพย์หมุนเวียนว่าควรจะมีอะไรบ้าง  และปริมาณเท่าไร  จึงทำให้กิจการมีสภาพคล่อง และมีกำไรระดับที่พอใจ
 2. นโยบายและการควบคุมสินทรัพย์หมุนเวียนแต่ละรายการ  รวมทั้งพยายามดำเนินการตามกรอบและนโยบายที่กำหนดไว้ 
-การกำหนดปริมาณของเงินทุนหมุนเวียน
-ปัจจัยที่มีส่วนกำหนดปริมาณเงินทุนหมุนเวียน
-ประเภทของธุรกิจ
- นโยบายในการดำเนินงานของธุรกิจ
- ยอดขายของกิจการ
 -การแข่งขันของธุรกิจ 
การวัดประสิทธิภาพของการจัดการเงินทุนหมุนเวียน
CCC =DSO + DSI – DPO
เมื่อ  CCC= วงจรการเปลี่ยนแปลงของเงินสด 
-โดยระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ (DSO) = (ลูกหนี้การค้า x จำนวนวันใน 1 ปี)/ยอดขาย
-ระยะเวลาการหมุนของสินค้า (DSI) = (สินค้าคงเหลือ x จำนวนวันใน 1 ปี)/ยอดขาย
-ระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้ (DPO) = (เจ้าหนี้การค้า x จำนวนวันใน 1 ปี)/ยอดขาย
-การประมาณต้นทุนสินเชื่อระยะสั้น
-ดอกเบี้ย=เงินต้น×อัตราดอกเบี้ย×ระยะเวลา
-อัตราดอกเบี้ย (APR) = (ดอกเบี้ย÷เงินต้น) × (1÷ระยะเวลา)
-อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี=〖 (1+ (i÷m)) 〗^m-1
i=อัตราดอกเบี้ยต่อปี
M=จำนวนครั้งที่ทบต้นในหนึ่ง

                                การจัดหาเงินทุนระยะสั้น
                           (Short Term Financing)


เงินทุนระยะสั้น หมายถึง เงินทุนที่ได้จากการก่อหนี้ระยะสั้น ซึ่งมีระยะการชำระคืนภายใน 1 ปี การจัดหาเงินทุนระยะสั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน โดยนำไปลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ และสินทรัพย์นั้นสามารถเปลี่ยนมาเป็นเงินสดได้ ไม่เกิน 1 ปี ซึ่งสามารถชำระคืนเงินกู้ด้วยตนเอง กล่าวคือ เมื่อธุรกิจกู้ยืมมาใช้ในการผลิตสินค้าขาย เมื่อธุรกิจขายสินค้าเป็นเงินเชื่อก็จะมีลูกหนี้กรค้าเกิดขึ้น และในกรณีที่ธุรกิจขายสินค้าไม่หมดก็จะมีสินค้าคงเหลือเกิดขึ้น เมื่อธุรกิจสามารถเร่งรัดการเก็บหนี้ได้ และขายสินค้าออกไปได้ก็จะได้เงินสดมาชำระหนี้ระยะสั้น 
ประเภทของเงินทุนระยะสั้น
การจัดหาเงินทุนระยะสั้นสามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
-เงินทุนระยะสั้นที่ได้จากธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้า
-เงินทุนระยะสั้นที่ไม่มีหลักประกัน
-เงินทุนระยะสั้นที่มีหลักประกัน
เงินทุนระยะสั้นที่ได้จากธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้า
เงินทุนระยะสั้นที่ได้จากธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้าจำแนกออกเป็น 2 ประเภท
1.เจ้าหนี้การค้าหรือสินเชื่อทางการค้า (Account Payable/Trade Credit) เป็นสินเชื่อทางการค้าที่เกิดขึ้นจากการค้าปกติ ผู้ขายจะเป็นผู้ให้เครดิตแก่ผู้ซื้อ โดยผู้ขายมีข้อตกลงกับผู้ซื้อในเรื่องเงื่อนไขกรชำระเงิน กำหนดเวลาการชำระเงิน ซึ่งสินเชื่อทางการค้าก็คือ เจ้าหนี้การค้าซึ่งเป็นรายการที่ปรากฏในงบแสดงฐานะการเงินทางด้านหนี้สินและทุนนั่นเอง
2. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accruals) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่ได้รับสินค้าหรือบริการแล้วแต่กิจการยังไม่ได้ชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการ เช่น เงินเดือนค้างจ่าย ค่าแรงค้างจ่าย ภาษีเงินได้ค้างจ่ายเป็นต้น
เงินกู้ชนิดไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
เงินกู้ชนิดไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นเงินกู้ที่ได้รับความนิยมมากในวงการค้า เงินกู้ประเภทนี้มีอายุการชำระคืนไม่เกิน 1 ปี ทำได้สะดวกและมีความยืดหยุ่น เพราะผู้กู้ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ประกันในการกู้ยืม โดยปกติแล้วธุรกิจจะใช้เงินกู้ประเภทนี้เป็นเงินลงทุนหมุนเวียนในกรดำเนินงานเช่น ซื้อวัตถุดิบ ที่ใช้ในการผลิต จ่ายค่าแรวงงาน จ่ายค่าเงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟฟ้า เป็นต้น 
ตราสารพาณิชย์ ( Commercial Paper ) 
คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งออกโดยบริษัทหรือธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ มีชื่อเสียงทางการค้าและฐานะทางการเงินดี จำหน่ายให้แก่บริษัทโดยทั่วไป เช่น บริษัทประกันภัย ธนาคาร กองทุนรวม กองทุนบำเหน็จบำนาญ ตลาดเงิน 
ประโยชน์ของตราสารพาณิชย์
1.ต้นทุนที่ถูกกว่า โดยทั่วไปอัตราดอกเบี้ยของตราสารพาณิชย์จะถูกกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์
2.ไม่มีข้อจำกัดด้านเงินทุน การกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ลูกค้าจะถูกกำจัดเงินทุนที่จะกู้ยืมได้จากธนาคารตามกฎหมาย แต่การออกตราสารพาณิชย์บริษัทผู้ออกตราสารพาณิชย์จะออกตราสารจำนวนเงินเงินเท่าใดก็ได้ โดยไม่มีข้อจำกัดตามกฎหมาย
3.ไม่มีหลักประกัน การอออกตราสารพาณิชย์ไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ ค้ำประกัน ทำให้เกิดความสะดวกในการจัดหาทุน
4.ไม่จำเป็นต้องมีเงินฝากขั้นต่ำคงเหลือในบัญชี (Compensating Balance) การกู้เงินจากธนาคารนอกจากธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้แล้วยังกำหนดให้ผู้กู้แล้วยังกำหนดให้ผู้กู้
เงินทุนระยะสั้นที่มีหลักประกัน
แหล่งเงินทุนระยะสั้นที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันวงเงินกู้ยืม 
2.1 การกู้ยืมเงินโดยใช้บัญชีลูกหนี้การค้า  (accounts receivable loans)     
2.1.1 การใช้บัญชีลูกหนี้การค้าค้ำประกัน  (assignment accounts receivable)  หมายถึง  การจัดหาเงินทุนจากการกู้ยืมเงินโดยใช้บัญชีลูกหนี้การค้าเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น  
2.1.2 การขายบัญชีลูกหนี้การค้า  (factoring account receivable)  หมายถึง  การจัดหาเงินทุนจากการกู้ยืมเงินโดยการนำบัญชีลูกหนี้การค้าของกิจการไปขายให้กับสถาบันการเงินอื่นที่รับซื้อบัญชีลูกหนี้การค้า  ค่าใช้จ่ายในการจัดการเกี่ยวกับลูกหนี้ 
2.2 การใช้สินค้าคงเหลือค้ำประกัน  (inventory loans)  หมายถึง  การจัดหาเงินทุนโดยวิธีการกู้ยืมเงินโดยนำสินค้าคงเหลือไปค้ำประกันวงเงินกู้ยืมเหมือนกับการใช้บัญชีลูกหนี้การค้าค้ำประกัน  
Floating Lien Agreement คือ
การกู้โดยวิธีกระทำโดยใช้สินค้าคงเหลือเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืม วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแต่เป็นการค้ำประกันที่ไม่ปลอดภัย ผู้ให้กู้จะมีสิทธิเหนือสินค้าคงเหลือในการควบคุม หรือ นำออกจำหน่ายได้ การใช้สินค้าคงเหลือค้ำประกันตามวิธีนี้ไม่ไดระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นสินชนิดใด นอกจากนั้นผู้ให้กู้ยังมีสิทธิเหลือสินค้าคงเหลือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย
แบบฝึกหัด
1.เงินทุนหมุนเวียน (working capital) หมายถึง
2.เงินทุนหมุนเวียนสุทธิเป็นบวก หมายถึง
3.เงินทุนระยะสั้นแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง
4.ตราสารพาณิชย์ (Commercial Paper) คืออะไร
5. Floating Lien Agreement คืออะไร
เฉลย
1.เงินทุนหมุนเวียนสุทธิเป็นบวก หมายถึง
2.จำนวนเงินทุนหมุนเวียนที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนรวมมากกว่าหนี้สินหมุนเวียนรวม
3.  3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.เงินทุนระยะสั้นที่ได้จากธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้า
2.เงินทุนระยะสั้นที่ไม่มีหลักประกัน
3.เงินทุนระยะสั้นที่มีหลักประกัน
4.ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งออกโดยบริษัทหรือธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ มีชื่อเสียงทางการค้าและฐานะทางการเงินดี จำหน่ายให้แก่บริษัทโดยทั่วไป เช่น บริษัทประกันภัย ธนาคาร กองทุนรวม กองทุนบำเหน็จบำนาญ ตลาดเงิน
5.การกู้โดยวิธีกระทำโดยใช้สินค้าคงเหลือเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืม วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแต่เป็นการค้ำประกันที่ไม่ปลอดภัย ผู้ให้กู้จะมีสิทธิเหนือสินค้าคงเหลือในการควบคุม หรือ นำออกจำหน่ายได้ การใช้สินค้าคงเหลือค้ำประกันตามวิธีนี้ไม่ไดระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นสินชนิดใด นอกจากนั้นผู้ให้กู้ยังมีสิทธิเหลือสินค้าคงเหลือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย

จัดทำโดย
1.นางสาวชนิตรนารถ ไฝนันตา   รหัส 5706104341
2.นายกิตติชัย ไชยศิลป์ รหัส 5706104314 
3.นางสาวธนัชชา มะละกูล รหัส5706104378 
4.นางสาวธัญชนก ปัทมดิลก รหัส 5706104383 
5.นายอรรถพล ชัยอาภร รหัส 5706104528
Section 5...